top of page

Case Study

Sugar Basket Inspection 

การตรวจสอบหม้อปั่น น้ำตาล

            ในกระบวนการผลิตน้ำตาลนั้น การแยกน้ำตาลโดยเครื่องจักร Centrifugal Separation ถือว่ามีความ สำคัญอย่างมากในกระบวนการผลิต ดังนั้นการบำรุงรักษา และการดูแลเครื่องจักรชนิดนี้จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ ที่ทางโรงงานไม่ควรละเลย เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจจะนำไปสู่การลดลงของประสิทธิภาพในการผลิต ซึ่งการบำรุงรักษา เครื่องจักรนั้นควรมีการตรวจสอบอย่างถูกวิธีและเหมาะสมในแต่ละชนิดของอุปกรณ์ เพื่อให้ได้ผลที่น่าเชื่อถือและสามารถแก้ไขความเสียหายได้อย่างตรงจุด ทางบริษัทจึงได้ออกแบบการตรวจสอบ Basket ชนิดต่างๆ เพื่อให้ผลที่ได้สามารถนำไปวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้องแม่นยำ

1. ชนิดของหม้อปั่น (Type of Centrifugal Separation Basket)

1.1 Discontinuous Centrifugal Basket: เป็นหม้อปั่นชนิดที่มีการทำงานเป็นช่วงๆ ตามลำดับขั้นตอน หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “Batch Type” โดยจะเป็นหม้อปั่นที่ใช้ปั่นน้ำตาลที่มีคุณภาพสูงสุด

1.2 Continuous Centrifugal Basket: เป็นหม้อปั่นชนิดที่มีการทำงานต่อเนื่อง โดยจะปั่นแยกน้ำตาลที่มีคุณภาพต่ำกว่า แต่มีลักษณะความเร็วรอบที่สูงกว่าแบบ Discontinuous type

โดยในการตรวจสอบนั้น Operating condition หรือชนิดของหม้อปั่นที่แตกต่างกันจะนำไปสู่ Technique การตรวจสอบด้วย NDT ที่แตกต่างกัน

Critical position ของหม้อปั่น (Batch type)

1. Top plate (ฝาบน)

2. Shell 

3. Bottom plate (ฝาล่าง)

5. Hoop (แหวน)

4. Hub (ดุมยึดเพลา)

1.1 หม้อปั่น Batch type

1.2 หม้อปั่น Continuous type

Critical position ของหม้อปั่น (Continuous type)

1. Top ring (แหวนด้านบน)

2. Cover plate (ปีกกันโมลาส)

3. Shell

4. Bottom (ฐานล่าง)

5. HUB (ดุมยึดเพลา)

6. Feeding bowl 

2. ขั้นตอนการตรวจสอบหม้อปั่น (Inspection procedure of basket)

2.1 ขั้นตอนการตรวจสอบหม้อปั่นชนิด Batch type

2.1.1 Centering Inspection

2.1.2 Nondestructive Testing (Magnetic Particle Testing, Penetrant Testing) เพื่อหารอยแตก ร้าวตามจุด Critical Component

2.1.3 Thickness Measurement (วัดความหนาของ Shell) โดย Ultrasonic Thickness Measurement

2.1.4 HUB Inspection การตรวจสอบสภาพของ HUB ที่เป็นจุดถ่ายแรงสู้ตัว Basket

2.1.5 Metallographic replication (Additional) เพื่อหาชนิดของ รอยแตกร้าว (Crack) หรือ สภาพของวัสดุที่มีการใช้งานมา

2.1.1 Centering Inspection

     การตรวจสอบการบิดเบี้ยวจะต้องทำการเช็คศูนย์ ( Center ) และ Alignment ถ้ามีการเบี้ยว หรือไม่ได้ศูนย์จะต้องมีการแก้ไข เพื่อป้องกันไม่ให้เกิด unbalance ขึ้นที่ตัวหม้อปั่น (Basket) ป้องการความเสียหายที่จะส่งผลกระทบไปสู่ part อื่นๆ

2.1.2 Non-Destructive Testing by Magnetic Particle Testing or Penetrant Testing เพื่อหารอยแตกร้าว:

     ในการตรวจสอบรอยแตกร้าวนั้นจะใช้กระบวนการ Magnetic Particle Testing เพื่อหารอยแตก บนเนื้อวัสดุที่เป็น Carbon Steel และ Penetrant Testing ในวัสดุที่เป็น Stainless Steel โดยทั้งสองการทดสอบ จะใช้ Fluorescent Type เพื่อเพิ่ม Sensitivity ของการตรวจสอบ หม้อปั่น Batch Type จะมีจุด critical ที่ต้อง ทำการตรวจสอบดังนี้

2.1.2.1 Welding between Shell and bottom

2.1.2.2 Shell of basket between holes

2.1.2.3 Bottom Plate

2.1.2.4 Welding line of the shell joint

2.1.2.5 Welding between top plate and shell

2.1.3 Thickness Measurement (วัดความหนาของ Shell)

            ในการตรวจสอบความหนาของหม้อปั่น (Basket Batch Type) จะมีการวัดเป็นช่วงเพื่อประเมิน ความหนาของ Shell หม้อปั่น เนื่องจากหม้อปั่นที่มีการใช้งาน ในส่วน Shell จะเกิดการสึกทำให้ความหนา ของ shell ลดลง โดยความหนาที่ลดลงอย่างมากอาจส่งผลให้ shell เกิดการฉีกขาดได้

ตำแหน่งการตรวจความหนา

2.1.4 HUB Inspection

            การตรวจสอบสภาพของ HUB ที่เป็นจุดถ่ายแรงจากเพลาสู่ Basket นั้นเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง ในกรณีนี้การตรวจสอบ ความหนาของแกน Hub และ รอยร้าวด้วย NDT (PT/MT) จะเป็นสิ่งที่สามารถป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นได้

ความเสียหายของ HUB

2. ขั้นตอนการตรวจสอบหม้อปั่น (Inspection procedure of basket)

2. 2 ขั้นตอนการตรวจสอบหม้อปั่นชนิด Continuous Type

2.2.1 Centering Inspection

2.2.2 Nondestructive Testing (Magnetic Particle Testing, Penetrant Testing) เพื่อหารอยแตก ร้าวตามจุด Critical Component

2.2.3 Thickness Measurement (วัดความหนาของ Shell) โดย Ultrasonic Thickness Measurement

2.2.4 Metallographic replication (Additional) เพื่อหาชนิดของ รอยแตกร้าว (Crack) หรือ สภาพของวัสดุที่มีการใช้งานมา

2.2.1 Centering Inspection

            การตรวจสอบการบิดเบี้ยวจะต้องทำการเช็คศูนย์ ( Center )  และ Alignment ถ้ามีการเบี้ยว หรือไม่ได้ศูนย์จะต้องมีการแก้ไข เพื่อป้องกันไม่ให้เกิด unbalance ขึ้นที่ตัวหม้อปั่น (Basket) ป้องการความเสียหายที่จะส่งผลกระทบไปสู่ part อื่นๆ โดยในหม้อปั่นชนิด Continuous Type นั้นจะมี ความเร็วรอบในการทำงานสูงกว่าชนิด Discontinuous Type ดังนั้นการบิดเบี้ยวอาจนำไปสู่ความเสียหายที่ รุนแรงกว่าได้

ตำแหน่งการตรวจ Centering

ผลการตรวจ Centering

2.2.2 Non-Destructive Testing by Magnetic Particle Testing or Penetrant Testing เพื่อหารอยแตกร้าว

            ในการตรวจสอบรอยแตกร้าวนั้นจะใช้กระบวนการ Magnetic Particle Testing เพื่อหารอยแตก บนเนื้อวัสดุที่เป็น Carbon Steel และ Penetrant Testing ในวัสดุที่เป็น Stainless Steel โดยทั้งสองการทดสอบ จะใช้ Fluorescent Type เพื่อเพิ่ม Sensitivity ของการตรวจสอบ หม้อปั่น Continuous Type จะมีจุด critical ที่ต้อง ทำการตรวจสอบดังนี้  

2.2.2.1 Welding between Shell and bottom

2.2.2.2 Shell of basket between holes

2.2.2.3 ตรวจหา Crack บริเวณแนวเชื่อมด้านบนและด้านหลังรอบแหวนหม้อปั่น

2.2.2.4 ตรวจหา Crack บริเวณแนวเชื่อมต่อของ Shell

2.2.2.5 ตรวจหา Crack บริเวณดุมกลาง รูยึดสกรูกับเพลา

2.2.2.6 ตรวจหารอย Crack รอบตัวปีกกันน้ำตาล

ตำแหน่งและผลการตรวจสอบ 

2.2.3 Thickness Measurement (วัดความหนาของ Shell)

            ในการตรวจสอบความหนาของหม้อปั่น (Basket Batch Type) จะมีการวัดเป็นช่วงเพื่อประเมิน ความหนาของ Shell หม้อปั่น เนื่องจากหม้อปั่นที่มีการใช้งาน ในส่วน Shell จะเกิดการสึกทำให้ความหนา ของ shell ลดลง โดยความหนาที่ลดลงอย่างมากอาจส่งผลให้ shell เกิดการฉีกขาดได้

ตำแหน่งการตรวจสอบความหนา

2.1.5, 2.2.4 Metallographic replication (Additional)

             เพื่อหาชนิดของ รอยแตกร้าว (Crack) หรือ สภาพของวัสดุที่มีการใช้งานมาโดยวิธีการทดสอบนั้น จะทำการเตรียมผิวชิ้นงานโดยการขัดละเอียด และใช้สารเคมีกัดเพื่อดูโครงสร้าง โดยจะใช้ Film ลอกลายโครงสร้างทางจุลภาคมาทำการวิเคราะห์

ตำแหน่งและผลการตรวจสอบด้วย Replica

เอกสารการตรวจสอบหม้อปั่น น้ำตาล

bottom of page