ความเชี่ยวชาญของเราพร้อมให้บริการอย่างครบวงจร
Failure Analysis and New Engineering Section
ความชำรุดเสียหายของเครื่องจักร และชิ้นส่วนอุปกรณ์ต่างๆสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม เป็นสิ่งที่อาจทำให้เสียหายได้ในพริบตา แต่สิ่งนี้เราสามารถป้องกัน หรือลดโอกาสไม่ให้เกิดความเสียหายได้ถ้าเรามีวิธีการพร้อมแนวทางแก้ปัญหาที่ถูกต้องเป็นระบบ เช่น มีการวางแผนตรวจสอบและวิเคราะห์ประเมินสภาพเครื่องจักรและอุปกรณ์ให้มีความพร้อมในการผลิต
การซ่อมแซมอุปกรณ์และอะไหล่เครื่องจักรที่ชำรุดเสียหายให้มีคุณภาพที่ดีให้สามารถเดินเครื่องได้ตามเป้าหมาย และการเพิ่มความรู้และทักษะในการทำงานให้กับบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับงานซ่อมบำรุงรักษา (Maintenance) ด้วยการปฏิบัติงานจริง สิ่งเหล่านี้ถือเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยลดความสูญเสียที่เกิดขึ้น อีกทั้งช่วยลดต้นทุนค่าใช้จ่าย กระบวนการผลิตราบรื่นและเพิ่มโอกาสในการผลิตอย่างเต็มที่
ในนาม “บริษัท ภากร เทคนิคอล เซอร์วิส จำกัด” ที่ให้บริการมานานกว่า 20 ปี มีทีมงานพร้อมประสบการณ์การให้บริการตรวจสอบวิเคราะห์ความเสียหาย (Failure) และ ความสูญเสีย (Lost) การซ่อมอุปกรณ์และอะไหล่ที่ชำรุดเสียหาย ตลอดจน การจัดอบรมให้ความรู้เชิงเทคนิคที่เกี่ยวข้องกับงานซ่อมบำรุง ซึ่งได้รับความไว้วางใจจากโรงไฟฟ้าและโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ในการใช้บริการของเรา ทั้งนี้ การให้บริการประกอบด้วย 4 หน่วยงาน คือ
1. Training Section
2. Inspection Testing and Analysis Section
3. Engineering Consultant
4. Standard Product Section
1.Training Section
เป็นหน่วยงานจัดอบรมเพื่อให้ความรู้ในการทำงานซ่อมบำรุงรักษา (Maintenance) โดยมุ่งเน้นให้ผู้เข้าร่วมอบรมลงมือปฏิบัติเพื่อเพิ่มทักษะตามหัวข้อของการ Workshop เช่น การแก้ไขความเสียหายที่เกิดขึ้นในโรงงาน (Failure Analysis), โลหะวิทยา (Material), การซ่อมแซมและพัฒนาวัสดุ อุปกรณ์และเครื่องจักรในเชิงการทำวิศวกรรมย้อนรอย (Reverse Engineering), การเลือกใช้วัสดุ (Material Selection) และการตรวจสอบแบบทำลายและไม่ทำลาย (Non-destructive Testing and Destructive Testing) เพื่อลดความเสียหายที่เกิดขึ้นกับ อะไหล่ (Spare part) อุปกรณ์ และเครื่องจักรในโรงงานทั้งหมด ในระยะยาวให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งนี้ สำหรับคนที่มีเวลาน้อยหรือมีภาระงานประจำ บริษัทฯ มีหลักสูตรเร่งรัดใช้ระยะเวลา 1 วันในหัวข้อวิชาดังกล่าวไว้ให้บริการด้วย
2. Inspection Testing and Analysis Section
เป็นหน่วยงานให้คำปรึกษา ทดสอบ และวิเคราะห์ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับวัสดุ อุปกรณ์ และเครื่องจักร เริ่มตั้งแต่ออกแบบการตรวจสอบวัสดุ อุปกรณ์ และเครื่องจักร (Inspection Mapping) ที่ถูกต้องและเหมาะสม โดยวิเคราะห์จาก Critical Components หรือตำแหน่งที่มักจะเกิดความเสียหายเพื่อประเมินความเสียหายและสภาพที่แท้จริงของวัสดุ อุปกรณ์และเครื่องจักร ซึ่งเป็นตัวแปรสำคัญในการนำข้อมูลเหล่านี้ไปตรวจสอบในเชิงลึกด้วยขบวนการตรวจสอบแบบไม่ทำลาย (Non-Destructive test) และแบบทำลาย (Destructive Test) นอกจากนี้ทางบริษัทฯ ยังมี Metallurgy laboratory ที่ให้บริการตรวจสอบและวิเคราะห์ความเสียหายได้ทั้งแบบทำลายและไม่ทำลายในรูปแบบ On-site ด้วยเช่นกัน สิ่งที่สำคัญ คือ การให้บริการที่รวดเร็วย่นระยะเวลาในการซ่อมบำรุงและมีคุณภาพตามมาตรฐานสากล โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้บริการของเราไม่ได้จบเพียงการวิเคราะห์ แต่เรายังให้คำแนะนำแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างครบวงจร เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายซ้ำเดิมอีกด้วย
3. Engineering Consultant
เป็นที่ปรึกษา ให้คำแนะนำบริษัทหรือโรงงานของท่านในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที โดยเริ่มตั้งแต่วางแผนการตรวจสอบ (Inspection Mapping) การคัดเลือกการสั่งวัสดุ เทคนิคการซ่อมบำรุงวัสดุ อุปกรณ์และเครื่องจักร (Reverse Engineering) การพัฒนาชิ้นส่วน วิธีการจัดเก็บข้อมูลให้มีประสิทธิภาพ (Data Collection) รวมถึงการวิเคราะห์ความเสียหายที่แท้จริง (Root cause Failure Analysis)ซึ่งเป็นตัวแปรสำคัญในการกำจัดปัญหาที่เกิดขึ้นจากการเสียหายแบบซ้ำๆในโรงงาน ทั้งนี้ทางบริษัทฯยังสามารถนำข้อมูลการตรวจสอบต่างๆมาใช้ในการคำนวนหา Life Assessment ของอุปกรณ์ ต่างๆในโรงงานเพื่อหาจำนวน ชั่วโมงการทำงานที่เหลือของอุปกรณ์ และ เครื่องจักรนั้นๆได้ ซึ่งจะช่วยในเรื่องของการควบคุมค่าใช้จ่าย (Cost) ที่จะต้องจ่ายในการ Maintenance และการ Stock Spare Parts อีกด้วย
ทั้งนี้ ข้อดีของการที่มีเราเป็นที่ปรึกษา คือ คุณจะสามารถวางแผนการตรวจสอบวัสดุ อุปกรณ์ และเครื่องจักรได้อย่างรัดกุมและมีประสิทธิภาพ, ลดเวลาในการ Maintenance จากการวางแผนที่เป็นระบบ, ลด Lost จากการ Maintenance และการตรวจสอบที่ผิดจุด ปัจจัยสำคัญที่สุดคือเพื่อให้การผลิตสามารถเดินเครื่องได้โดยไม่ต้องหยุดจากความเสียหายที่มักจะเกิดขึ้นซ้ำๆระหว่างเดินเครื่องซึ่งจะช่วยลดต้นทุนและความสูญเสียได้อย่างมหาศาล
4. Standard Product Section
Standard Sample คือ product ที่ใช้ประโยชน์ในการเรียนรู้และเป็นมาตรฐานตัวอย่างในการสั่งของ หรือการซ่อมบำรุง อะไหล่ (Spare part) อุปกรณ์ และเครื่องจักร โดย Standard Sample ที่ทางบริษัทจัดทำขึ้นมีหลากหลายรูปแบบ เช่น วัสดุที่ต่างชนิดกัน, Weld sample, Ferrous and Non-ferrous, Sampling tube และ Failure tube ของโรงไฟฟ้า
ยกตัวอย่าง เช่น Sampling tube คือท่อตัวอย่าง Vessel pressure tube ที่ใช้ในระบบหม้อน้ำ (Boiler) โดยจะมีมาตรฐานกำหนดไว้เกี่ยวกับ Microstructure และข้อมูล Mechanical properties ต่างๆ ซึ่งเป็นตัวแปรสำคัญที่ใช้คัดกรองวัสดุไม่มีคุณภาพ และทำให้ผู้ปฏิบัติงานมีความเข้าใจในรายละเอียดวัสดุของตัวเองมากขึ้น เนื่องจากในรายละเอียดของ Microstructure สามารถบ่งบอกได้ถึงสภาพจริงและข้อผิดพลาดจากการใช้งานเพื่อรองรับการซ่อมบำรุงได้เป็นอย่างดี โดยการนำส่วนประกอบ microstructure จากท่อที่ใช้งานอยู่มาเปรียบเทียบกับมาตรฐานตัวอย่าง Sampling tube เป็นต้น ซึ่งการทำ Sampling Tube สามารถใช้เป็นข้อมูลอ้างอิง (Reference) เพื่อที่จะนำผลที่ได้มาวิเคราะห์และวางแผนการตรวจสอบในอนาคตให้มีความแม่นยำได้อีกด้วย
นอกจากนี้ Standard sample ยังใช้เป็นสื่อที่ผู้เรียนรู้ได้จับ ได้ทำ โดยเป็นสื่อการสอนที่ให้ประสบการณ์การเรียนรู้จากของจริง ซึ่งเป็นการยกระดับมาตรฐานและเพิ่มความรู้ความสามารถและทักษะในการทำงานให้กับหน่วยปฏิบัติงานและบุคลากรที่เกี่ยวข้องในสาขางานซ่อมบำรุงและระบบการผลิตต่อไปด้วย
Comentários